เมนู

[อรรถาธิบายคำว่า เวรญฺชยํ วิหรติ]


ก็พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เวรญฺชายํ วิหรติ นี้ ดังต่อไปนี้ :-
คำว่า เวรญฺชายํ นี้ เป็นชื่อเมืองใดเมืองหนึ่ง. ในเมืองเวรัญชานั้น. คำว่า
เวรญฺชายํ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถว่าใกล้. คำว่า วิหรติ เป็นการ
แสดงถึงความเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยธรรมเครื่องอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดา
ธรรมเครื่องอยู่คืออริยาบถวิหาร ทิพพวิหาร พรหมวิหาร และอริยวิหาร
โดยไม่แปลกกัน. แต่ในที่นี้แสดงถึงการประกอบด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง
บรรดาอิริยาบทมีประเภท คือ การยืน การเดิน การนั่ง และการนอน.
เพราะฉะนั้น พระผู้พระภาคเจ้าประทับยืนอยู่ก็ดี เสด็จดำเนินไปก็ดี ประทับ
นั่งอยู่ก็ดี บรรทมอยู่ก็ดี บัณฑิตพึงทราบว่า เสด็จประทับอยู่ทั้งนั้น. จริงอยู่
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงบำบัดความลำบากแห่งอิริยาบทอย่างหนึ่ง
ด้วยอิริยาบทอีกอย่างกนึ่ง ทรงนำ คือทรงยังอัตภาพให้เป็นไปมิให้ทรุดโทรม
เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า เสด็จประทับอยู่.

[อรรถาธิบายคำว่า นเฬรุปุจิมนฺทมูเล เป็นต้น]


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า นเฬรุปุจิมนฺทมูเล นี้ ดังต่อไปนี้ :
ยักษ์ชื่อ นเฬรุ. ต้นสะเดาชื่อว่า ปุจิมันทะ. บทว่า มูลํ แปลว่า
ที่ใกล้. จริงอยู่ มูลศัพท์นี้ ย่อมปรากฏในรากเหง้า ในคำทั้งหลายมีอาทิเช่นว่า
พึงขุดรากเง้าทั้งหลาย โดยที่สุดแม้เพียงแฝกและอ้อ. ในเหตุอันไม่ทั่วไปใน
คำมีอาทิว่า ความโลภ เป็นอกุศลมูล. ในที่ใกล้ ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า
เงาย่อมแผ่ไปในเวลาเที่ยง, ใบไม้ทั้งหลายย่อมตกไปในเวลาปราศจากลม ได้
เพียงใด ด้วยที่เพียงเท่านี้ ชื่อว่ารุกขมูล (โคนต้นไม้). แต่ในบทว่า มูเล
นี้ ท่านประสงค์เอาที่ใกล้. เพราะฉะนั้น พึงเห็นใจความในคำนี้ อย่างนี้ว่า